วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วิธีชำกิ่งลีลาวดีแบบง่ายๆ

                                        
                                   


                                                            
                                       วิธีชำกิ่งลีลาวดีแบบง่ายๆ




สมัยลีลาวดีราคาแพงๆ จะเสียบจะชำ ขั้นตอนดูมากมายกลัวจะเสียบ้าง โตไม่ทันใจบ้าง ระยะหลังราคาถูกลง ใช้วิธีชำแบบง่ายๆ มันก็สามารถทำ และเลี้ยงได้โตเช่นกัน




จั่วหัวข้อไว้ว่าแบบง่ายๆ ก็รวบรัดการอธิบายอย่างง่ายๆ เช่นกันเลย




ตัวอย่างกิ่งตัดสด 10 กิ่ง (ความยาว 30 ซม. มาตรฐาน) ลิดใบออกเกะกะ ให้เหลือแต่ก้านใบ เดี่ยวก็ร่วงหลุดเอง



เอาตรงรอยตัดจุ่มยาเร่งราก จะทาแบบเพียวๆเข้มข้น หรือผสมน้ำแล้วจุ่มแช่ทิ้งไว้สักครึ่งชั่วโมงก็ตามสะดวก (ไม่มียาก็ไม่ต้องใช้)




เอากิ่งที่แช่ขึ้นมาพักให้แห้ง ใช้กระถางพลาสติก 11 นิ้ว ก็พอ เอาดินปลูกต้นไม้ธรรมดา หรือดินใบก้ามปูก็ได้ ใส่ลงในกระถางประมาณ 5 นิ้ว ใช้ขุยมะพร้าวโปะลงไปอีก 2 นิ้ว เอาไปตั้งในที่ร่มรำไร






เอากิ่งลีลาวดีทั้งสิบกิ่ง ใส่ลงไปในกระถางเฉย ตั้งทิ้งไว้อย่างนั้น ให้รอยตัดส่วนล่างของกิ่ง สัมผัสกับขุยมาพร้าว แล้วรดน้ำ






หลังจากนั้นรดน้ำใส่กระถางพอเปียกทุกสามวัน ไม่ต้องรดบ่อย พอไม้เริ่มแตกใบเยอะ ให้สังเกตุดูราก ถ้ารากออกมามากแล้ว ค่อยแยกออกไปปลูก






เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ปัจจุบัน ทางอาศรมฯก็ชำวิธีนี้ เปอร์เซ็นต์การเสียหาย น้อยมากๆ






จุดสำคัญคือ อย่าให้กิ่งทั้งหมดเคลื่อนไหว หมา แมว วิ่งชนล้ม ควรมัดให้แน่นอย่าให้เคลื่อนไหวได้ มิฉะนั้น รากอ่อนๆที่ออกมา เวลาสะเทือน รากมันขาด แล้วมันสร้างรากชุดหลังช้ากว่าชุดแรกเยอะ




ที่มา


http://eanechailsa.blogspot.com/


ความเชื่อดอกลีลาวดี

                                                    
                                        ความเชื่อ 
         






คนโบราณมีความเชื่อว่า ต้นลั่นทมนั้น ไม่ควรปลูกในบ้าน ด้วยมีชื่ออัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า ระทม ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ, จึงได้มีการเรียกชื่อเสียใหม่ให้เป็นมงคล ว่า ลีลาวดี ทั้งนี้ไม่ได้มีการกำหนดเปลี่ยนชื่อแต่อย่างใด
          มีความเข้าใจผิดกันว่า ลีลาวดี นั้นเป็นชื่อพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ แต่แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ เป็นเพียงความเข้าใจผิด เพราะเป็นชื่อพระราชทานจาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
          ลีลาวดี ถ้าแปลตามความหมายตามอักษรแล้ว ก็คือต้นดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามอ่อนช้อย ไม้นี้เดิมเรียก ลั่นทม เป็นไม้ยืนต้นในเขตร้อน ที่เห็นทั่วๆไปมีดอกสีขาว แดง ชมพู ชื่อเดิมของพันธ์ไม้นี้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคำนี้มาจากคำว่า ระทมซึ่งหมายถึงความเศร้าโศกจึงไม่เป็นที่โปรดปรานปลูกในบริเวณบ้านหรือที่อยู่อาศัย แต่แท้ที่จริงแล้วมีผู้มีความรู้ด้านภาษาไทยกล่าวถึงคำว่า ลั่นทม

          ลั่นทม ที่เรียกกันแต่โบราณหมายถึง การละแล้วซึ่งความโศกเศร้าแล้วมีความสุข ดังนั้นคำว่า ลั่นทมแท้ที่จริงนั้นเป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม โดยคำแรกหมายถึง แตกหัก ละทิ้ง และคำหลังหมายถึงความทุกข์โศก ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนชื่อมาเป็นลีลาวดีเนื่องจากความเข้าใจในภาษาคลาดเคลื่อน แต่ชื่อใหม่นั้นก็ความไพเราะสมกับท่วงท่าของลำต้น มีตำนานเล่าขานถึงที่มาของลีลาวดีในลักษณะต่างๆกันอย่างไรก็ตามพันธ์ไม้นี้ตามหลักสากล ได้ถูกเรียกชื่อว่า ฟรังกีปานี (frangipani) และเรียกกันทั่วๆไปว่า พลูมมีเรีย (plumeria)  

ที๋มา

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ความเชื่อของลีลาวดี









สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยายางและแก่น-ใช้เป็นยาถ่ายพิษทั้งปวง ถ่ายเสมหะและโลหิต แก้กามโรค แก้ปวดฟัน
ใบ-ลนไฟให้ร้อนพอพอกแก้ปวดบวม ชงน้ำร้อนใช้รักษาหิด
เนื้อไม้-แก้ไอ ในประเทศเขมรใช้เป็นยาขับถ่ายพยาธิ
ราก-เป็นยาถ่าย และทำให้แท้งได้
เปลือกราก-ใช้เป็นยาถ่าย แก้โรคข้ออักเสบ ขับลม รักษาโรคหนองใน
ทั้งต้น- ใช้ปรุงยารักษาโรคลำไส้พิการของม้า
เปลือกต้น- นำมาต้มเป็นยาถ่าย ขับฤดู แก้ไข้ โรคโกโนเรีย ยาถ่าย และยาขับปัสสวะ ทั้งยังมีสารฟลูโอพลูไมริน ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสของโรคเอดส์ได้
ดอก- ใช้ทำธูป และถ้าใช้ผสมกับพลูเป็นยาแก้ไข้ แก้ไขมาเลเรีย
ยางจากต้น-เป็นยาถ่าย รักษาไขข้ออับเสบ ถ้าผสมกับไม้จันทร์ และการบูรเป็นยาแก้คัน แก้ปวดฟัน
ที่มา





การขยายพันธุ์

                                                                 
                                                                การขยายพันธุ์ 
   
 -    การเพาะเมล็ด  จะใช้ฝักที่แก่จัด  ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งเมล็ดลีลาวดีงอกได้ง่าย แต่ละฝักของลีลาวดีจะได้ต้นกล้าประมาณ  50 -100  ต้น สามารถเพาะในกระถางเพาะได้เลย ข้อดี   ของการเพาะเมล็ดลีลาวดี คือ จะได้ต้นที่กลายพันธุ์  หรือ ต้นลีลาวดีแคระ ด่าง
    -    การปักชำ  เป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็วในการขยายพันธุ์ต้นลีลาวดีและยังเป็นวิธีรักษาพันธุ์เดิมเอาไว้
    -    การเปลี่ยนยอด จะใช้ในกรณีที่ได้พันธุ์ดีแล้วนำมาเปลี่ยนยอดบนต้นตอที่เพาะกล้าไว้แล้วอาจ จะเสียบข้างหรือผ่าเป็นลิ่ม วิธีนี้ต้องป้องกันไม่ให้น้ำเข้า ไม่เช่นนั้นแผลจะเน่า
    -    การติดตา ใช้ในกรณีที่ได้ตามีไม่มากนัก เป็นการขยายพันธุ์แบบประหยัด กิ่งหนึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้เป็นจำนวนมาก
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:  อเมริกาเขตร้อน
สรรพคุณทางยา:
    -    ต้น ใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคลำไส้พิการของม้า
    -    ใบ  ใบแห้งชงน้ำร้อนดื่มรักษาโรคหอบหืด ใบสดลนไฟประคบร้อนแก้ปวด บวม
    -     เปลือกราก  เป็นยารักษาโรคหนองใน ยาถ่าย แก้โรคไขข้ออักเสบ ขับลม
    -    เปลือกต้น  ต้มเป็นยาถ่าย ขับระดู แก้ไข้ แก้โรคโกโนเรีย หรือผสมกับน้ำมันมะพร้าว-ข้าว-มันเนยเป็นยาแก้ท้องเดิน ยาถ่าย ขับปัสสาวะ
    -    ดอก  ใช้ทำธูป ใช้ผสมกับพลูเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้มาลาเรีย
    -    เนื้อไม้  เป็นยาแก้ไอ ยาถ่าย ขับพยาธิ
    -    ยางจากต้น  เป็นยาถ่าย รักษาโรคไขข้ออักเสบ ใช้ผสมกับไม้จันทน์และการบูรเป็นยาแก้คัน แก้ปวดฟัน
ความมงคล: 
    คนโบราณมีความเชื่อว่า ต้นลั่นทมนั้น ไม่ควรปลูกในบ้าน ด้วยมีชื่ออัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า ระทม ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ, จึงได้มีการเรียกชื่อเสียใหม่ให้เป็นมงคล ว่า ลีลาวดี ทั้งนี้ไม่ได้มีการกำหนดเปลี่ยนชื่อแต่อย่างใด
    มี ความเข้าใจผิดกันว่า ลีลาวดี นั้นเป็นชื่อพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ แต่แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ เป็นเพียงความเข้าใจผิด เพราะเป็นชื่อพระราชทานจาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
    ลีลาวดี ถ้าแปลตามความหมายตามอักษรแล้ว ก็คือต้นดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามอ่อนช้อย ไม้นี้เดิมเรียก ลั่นทม เป็นไม้ยืนต้นในเขตร้อน ที่เห็นทั่วๆไปมีดอกสีขาว แดง ชมพู ชื่อเดิมของพันธ์ไม้นี้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคำนี้มาจากคำว่า ระทมซึ่งหมายถึงความเศร้าโศกจึงไม่เป็นที่โปรดปรานปลูกในบริเวณบ้านหรือที่ อยู่อาศัย แต่แท้ที่จริงแล้วมีผู้มีความรู้ด้านภาษาไทยกล่าวถึงคำว่า ลั่นทม


    ลั่นทม ที่เรียกกันแต่โบราณหมายถึง การละแล้วซึ่งความโศกเศร้าแล้วมีความสุข ดังนั้นคำว่า ลั่นทมแท้ที่จริงนั้นเป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม โดยคำแรกหมายถึง แตกหัก ละทิ้ง และคำหลังหมายถึงความทุกข์โศก ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนชื่อมาเป็นลีลาวดีเนื่องจากความเข้าใจในภาษาคลาดเคลื่อน แต่ชื่อใหม่นั้นก็ความไพเราะสมกับท่วงท่าของลำต้น มีตำนานเล่าขานถึงที่มาของลีลาวดีในลักษณะต่างๆกันอย่างไรก็ตามพันธ์ไม้นี้ ตามหลักสากล ได้ถูกเรียกชื่อว่า ฟรังกีปานี (frangipani) และเรียกกันทั่วๆไปว่า พลูมมีเรีย (plumeria)  


ชื่อทางวิทยาศาสตร์

ชื่อวิทยาศาสตร์Plumeria spp.
ชื่อวงศ์:  Apocynaceae
ชื่อสามัญFrangipani , Pagoda tree, Temple tree
ชื่อพื้นเมือง:  ลั่นทม
ลักษณะทั่วไป:
   
    ต้น  เป็นไม้ยืนต้น มีขนาดตั้งแต่พุ่มเตี้ยแคระสูงประมาณ 0.9-1.2 เมตร จนถึงต้นที่สูงมาก อาจสูงถึง 12 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสขาและพุ่มใบสวยงาม มีน้ำยางสีขาวข้น เป็นไม้ผลัดที่สลัดใบในฤดูแล้งก่อนที่จะผลิดอกและผลิใบรุ่นใหม่ กิ่งที่ยังไม่แก่มีสีเขียว อ่อนนุ่ม ดูเกือบจะอวบน้ำ กิ่งแก่มีสีเทามีรอยตะปุ่มตะป่ำ กิ่งไม่สามารถทานน้ำหนักได้ กิ่งเปราะ เปลือกลำต้นหนา ต้นที่โตเต็มที่แล้วจะพัฒนาจนกระทั่งมีความแข็งแรงมากขึ้น
    ใบ  เป็นใบเดี่ยว มีการเรียงตัวแบบสลับและหนาแน่นใกล้ปลายกิ่ง มีลักษณะแตกต่างกันไปทั้งรูปร่าง ขนาด สี และความหนาแน่น โดยทั่วไป ใบจะหนา เหนียวแข็ง และมีสีตั้งแต่สีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม มีเส้นกลางใบแตกสาขาออกไปคล้ายขนนก ขนาดใบแตกต่างกัน
ช่อดอก ดอกจะผลิออกมาจากปลายยอดเหนือใบ เห็นเป็นช่อดอกใหญ่สวยงาม แต่ก็มีบางชนิดที่ออกช่อดอกระหว่างใบ หรือใต้ใบ บางชนิดห้อยลงบางชนิดตั้งขึ้น ในหนึ่งช่อจะมีดอกบานพร้อมกัน 1030 ดอก บางต้นที่มีความสมบูรณ์เต็มที่อาจมีดอกมากกว่า 100 ดอก ต่อ 1 ช่อ ออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน บางพันธุ์สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
    ดอก  โดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่ถึงกลาง ยกเว้นบางพันธุ์ที่มีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย อยู่ลึกเข้าไปข้างใน ดอกมีลักษณะคล้ายท่อ ทำให้มองไม่เห็นเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย โดยจะมีเกสรตัวผู้ 5 อัน อยู่ที่โคนก้านดอก ส่วนเกสรตัวเมียอยู่ลึกลงไปในก้านดอก เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียบานไม่พร้อมกัน ยากต่อการผสมตัวเอง
    ฝัก/ผล  มีลักษณะคล้ายกับฝักต้นชวนชม ฝักอ่อนสีจะมีสีเขียวเมื่อแก่ฝักจะมีสีแดงถึงดำ

การปลูก:  ปลูกในกระถาง ปลูกลงดินในแปลงปลูก

ประโยชน์ของต้นลีลาวดี


                                           ประโยชน์ของต้นลีลาวดี




สรรพคุณของดอกลีลาวดีประโยชน์ของดอกลีลาวดีใช้ผสมกับพลู ทำเป็นยาแก้ไข้ และไข้มาลาเรีย (ดอกลีลาวดี,เปลือกต้น)


ช่วยรักษาไข้หวัด (ราก)


ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไอ (เนื้อไม้)


ช่วยถ่ายเสมหะและโลหิต (ยางและแก่น)


ช่วยขับเหงื่อ แก้ร้อนใน (ราก)


ช่วยรักษาโรคหืดหอบ ด้วยการใช้ใบลีลาวดีแห้งนำมาชงกับน้ำร้อนดื่ม (ใบแห้ง)


ยางจากต้นลีลาวดีใช้ผสมกับไม้จันทร์และการบูรทำเป็นยาแก้อาการปวดฟัน (ยางจากต้น)


มีการนำมาใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคลำไส้พิการของม้า (ต้น)


ใช้ปรุงเป็นยาถ่าย (เนื้อไม้,ยางจากต้น,เปลือกราก,เปลือกต้น)


ช่วยขับลมในกระเพาะ (เปลือกราก)


ใช้เปลือกต้นผสมกับน้ำมันมะพร้าว มันเนย และข้าวทำเป็นยาแก้ท้องเดิน(เปลือกต้น)


ใช้เปลือกต้นผสมกับน้ำมันมะพร้าว มันเนย และข้าวทำเป็นยาขับปัสสาวะ (เปลือกต้น)


ประโยชน์ดอกลีลาวดีฝักนำมาฝนเพื่อนำมาใช้ทาแก้ริดสีดวงทวารได้ (ฝัก)


ช่วยขับระดู (เปลือกต้น)


ช่วยในการขับพยาธิ (เนื้อไม้)


ใช้เปลือกรากปรุงเป็นยารักษาโรคหนองใน (เปลือกราก)


ช่วยรักษาโรคโกโนเรีย หรือโรคหนองในแท้ (Gonorrhea) (เปลือกต้น)


สรรพคุณของลีลาวดีช่วยรักษากามโรค (ยางและแก่น)


ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ (ยากจากต้น,เปลือกราก)


ใบสดใช้ชงกับน้ำร้อนรักษาหิด (ใบสด)


ใบสดลีลาวดีลนไฟประคบร้อนช่วยแก้อาการปวด บวมได้ (ใบสด)


ใช้ปรุงเป็นยาถ่ายพิษทั้งปวง (ยางและแก่น)


ยางจากต้นลีลาวดีใช้ผสมกับไม้จันทร์และการบูรทำเป็นยาแก้คัน (ยางจากต้น)


ดอกลีลาวดีประโยชน์ดอกลีลาวดี ใช้ทำเป็นธูป (ดอก)


กลิ่นของดอกลีลาวดีช่วยทำให้นอนหลับสบาย


มีความเชื่อว่ากลิ่นของดอกลีลาวดีจะช่วยลดความรู้สึกทางเพศ เหมาะสำหรับนักบวชและผู้ฝึกตน ที่ไม่ต้องการให้กามารมณ์มากวนใจ


ต้นลีลาวดีนิยมใช้ในการจัดสวน เพื่อตกแต่งภูมิทัศน์เป็นอย่างมาก โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกกันก็คือ “พันธุ์ขาวพวง” หรือพันธุ์ดั้งเดิมนั่นเอง


แหล่งอ้างอิง : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)





การดูแลรักษาดอกลีลาวดี

                                                              
                                                                                การดูแลรักษาดอกลีลาวดี


      การดูแลรักษา



ลีลาวดี สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่กันดาร ดินไม่อุดมสมบูรณ์มากนัก แต่ถ้าต้องการให้ลีลาวดีออกดอกได้ดี ควรนำไปปลูกในกระถางและใช้ดินที่เป็นกรดเหมือนกับพืชเขตร้อนทั่วไป ลีลาวดีชอบความชื้นในอากาศสูงและไม่ชอบอยู่ในดินที่มีน้ำท่วมขังหรือมีการรดน้ำบ่อยครั้ง การปลูกควรเน้นการระบายน้ำหรือการยกร่องในแปลงปลูกเป็นหลัก ลีลาวดีเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดในเวลากลางวันอย่างน้อยครึ่งวัน แต่หลายชนิดต้องการแสงแดดเต็มวัน ยกเว้นบางชนิดที่มีดอกสีแดงซึ่งจะชอบการพรางแสงมากกว่า
 1.การให้น้ำ การปลูกในกระถาง การให้น้ำ ควรให้จนดินเปียกทั่วถึง จนน้ำส่วนเกินระบายออกทางรูระบายน้ำ แล้วปล่อยให้วัสดุปลูกแห้งก่อนการให้น้ำครั้งต่อไป หรือช่วงแล้งจัด อาจเว้นวัน และควรตรวจดูความชื้นของวัสดุปลูกอยู่เสมอการปลูกลงดิน ควรให้น้ำแต่น้อยให้ประมาณสัปดาห์ละครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นในอากาศ ถ้าอากาศร้อนควรให้น้ำมากกว่าปกติ เพื่อรักษาความเขียวของใบ แต่การให้น้ำมากเกินไปมีผลต่อการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านมากและทำให้ไม่ออกดอกไม่
2.การให้ปุ๋ย เนื่องจากต้นลีลาวดีที่สวยและมีราคาสูงนั้น จะต้องมีฟอร์มต้นที่ดีคือมีลักษณะของทรงพุ่มกลมมีกิ่งก้านสาขาแตกออกดูแล้วมีความพอดีกับความสูงของต้น ดังนั้นการให้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไปจะทำให้ต้นสูงชะลูดและไม่แทงช่อดอกในเวลาอันควร ในการที่จะเร่งการเจริญเติบโตทั้ง ทางใบ ลำต้น และดอก คือการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมในอัตราส่วนที่เท่ากัน หรือให้ฟอสฟอรัสสูงและให้ธาตุอาหารรองที่จำเป็นต่อลีลาวดีคือ แมกนีเซียม ทองแดง เหล็ก สังกะสี กำมะถัน และแมงกานีส การขยายพันธุ์ลีลาวดี 1. การเพาะเมล็ด จะใช้ฝักที่แก่จัด ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งเมล็ดลีลาวดีงอกได้ง่าย แต่ละฝักของลีลาวดีจะได้ต้นกล้าประมาณ 50 -100 ต้น สามารถเพาะในกระถางเพาะได้เลย ข้อดี ของการเพาะเมล็ดลีลาวดี คือ จะได้ต้นที่กลายพันธุ์ หรือ ต้นลีลาวดีแคระ ด่าง 2. การปักชำ เป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็วในการขยายพันธุ์ต้นลีลาวดีและยังเป็นวิธีรักษาพันธุ์เดิมเอาไว้
3. การเปลี่ยนยอด จะใช้ในกรณีที่ได้พันธุ์ดีแล้วนำมาเปลี่ยนยอดบนต้นตอที่เพาะกล้าไว้แล้วอาจจะเสียบข้างหรือผ่าเป็นลิ่ม วิธีนี้ต้องป้องกันไม่ให้น้ำเข้า ไม่เช่นนั้นแผลจะเน่า
4. การติดตา ใช้ในกรณีที่ได้ตามีไม่มากนัก เป็นการขยายพันธุ์แบบประหยัด กิ่งหนึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้เป็นจำนวนมาก
ที่มา
ttps://www.blogger.com/blogger.g?blogID=91813662309