การขยายพันธุ์
-
การเพาะเมล็ด
จะใช้ฝักที่แก่จัด
ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งเมล็ดลีลาวดีงอกได้ง่าย แต่ละฝักของลีลาวดีจะได้ต้นกล้าประมาณ 50 -100
ต้น สามารถเพาะในกระถางเพาะได้เลย ข้อดี
ของการเพาะเมล็ดลีลาวดี คือ จะได้ต้นที่กลายพันธุ์ หรือ ต้นลีลาวดีแคระ ด่าง
-
การปักชำ เป็นวิธีที่ง่าย
รวดเร็วในการขยายพันธุ์ต้นลีลาวดีและยังเป็นวิธีรักษาพันธุ์เดิมเอาไว้
- การเปลี่ยนยอด
จะใช้ในกรณีที่ได้พันธุ์ดีแล้วนำมาเปลี่ยนยอดบนต้นตอที่เพาะกล้าไว้แล้วอาจ
จะเสียบข้างหรือผ่าเป็นลิ่ม วิธีนี้ต้องป้องกันไม่ให้น้ำเข้า ไม่เช่นนั้นแผลจะเน่า
-
การติดตา ใช้ในกรณีที่ได้ตามีไม่มากนัก เป็นการขยายพันธุ์แบบประหยัด
กิ่งหนึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้เป็นจำนวนมาก
การใช้ประโยชน์:
-
ไม้ประดับ
-
สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด: อเมริกาเขตร้อน
สรรพคุณทางยา:
-
ต้น ใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคลำไส้พิการของม้า
-
ใบ
ใบแห้งชงน้ำร้อนดื่มรักษาโรคหอบหืด ใบสดลนไฟประคบร้อนแก้ปวด บวม
-
เปลือกราก เป็นยารักษาโรคหนองใน
ยาถ่าย แก้โรคไขข้ออักเสบ ขับลม
-
เปลือกต้น ต้มเป็นยาถ่าย ขับระดู
แก้ไข้ แก้โรคโกโนเรีย หรือผสมกับน้ำมันมะพร้าว-ข้าว-มันเนยเป็นยาแก้ท้องเดิน
ยาถ่าย ขับปัสสาวะ
-
ดอก ใช้ทำธูป
ใช้ผสมกับพลูเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้มาลาเรีย
-
เนื้อไม้ เป็นยาแก้ไอ ยาถ่าย
ขับพยาธิ
-
ยางจากต้น เป็นยาถ่าย
รักษาโรคไขข้ออักเสบ ใช้ผสมกับไม้จันทน์และการบูรเป็นยาแก้คัน แก้ปวดฟัน
ความมงคล:
คนโบราณมีความเชื่อว่า ต้นลั่นทมนั้น
ไม่ควรปลูกในบ้าน ด้วยมีชื่ออัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า ระทม ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก
ทุกข์ใจ, จึงได้มีการเรียกชื่อเสียใหม่ให้เป็นมงคล ว่า ลีลาวดี
ทั้งนี้ไม่ได้มีการกำหนดเปลี่ยนชื่อแต่อย่างใด
มี ความเข้าใจผิดกันว่า ลีลาวดี
นั้นเป็นชื่อพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ แต่แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่
เป็นเพียงความเข้าใจผิด เพราะเป็นชื่อพระราชทานจาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ
ลีลาวดี ถ้าแปลตามความหมายตามอักษรแล้ว
ก็คือต้นดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามอ่อนช้อย ไม้นี้เดิมเรียก ลั่นทม
เป็นไม้ยืนต้นในเขตร้อน ที่เห็นทั่วๆไปมีดอกสีขาว แดง ชมพู
ชื่อเดิมของพันธ์ไม้นี้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคำนี้มาจากคำว่า
ระทมซึ่งหมายถึงความเศร้าโศกจึงไม่เป็นที่โปรดปรานปลูกในบริเวณบ้านหรือที่
อยู่อาศัย แต่แท้ที่จริงแล้วมีผู้มีความรู้ด้านภาษาไทยกล่าวถึงคำว่า ลั่นทม
ลั่นทม ที่เรียกกันแต่โบราณหมายถึง
การละแล้วซึ่งความโศกเศร้าแล้วมีความสุข ดังนั้นคำว่า
ลั่นทมแท้ที่จริงนั้นเป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม โดยคำแรกหมายถึง แตกหัก ละทิ้ง
และคำหลังหมายถึงความทุกข์โศก ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนชื่อมาเป็นลีลาวดีเนื่องจากความเข้าใจในภาษาคลาดเคลื่อน
แต่ชื่อใหม่นั้นก็ความไพเราะสมกับท่วงท่าของลำต้น
มีตำนานเล่าขานถึงที่มาของลีลาวดีในลักษณะต่างๆกันอย่างไรก็ตามพันธ์ไม้นี้
ตามหลักสากล ได้ถูกเรียกชื่อว่า ฟรังกีปานี (frangipani) และเรียกกันทั่วๆไปว่า พลูมมีเรีย (plumeria)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น